ข้อแนะนำการขอสินเชื่อบ้านจากสินเชื่อบ้านบัวหลวง

ข้อแนะนำการขอสินเชื่อบ้านจากสินเชื่อบ้านบัวหลวง

เรียบเรียงข้อมูลโดย เงินด่วนสินเชื่อ.com
สินเชื่อบ้าน
สินเชื่อบ้านบัวหลวง
ในบทความนี้เราขอนำเสนอข้อแนะนำการขอสินเชื่อบ้านดี ๆ จากสินเชื่อบัวหลวงเพื่อเตรียมตัวเป็นเจ้าของบ้านใหม่ และ

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเตรียมตัวซื้อบ้านคือ?

สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก่อนจะซื้อที่อยู่อาศัย คือประเมินกำลังซื้อของคุณ โดยลองคำนวณดูว่าคุณมีงบประมาณในการซื้ออยู่ที่ระดับราคาเท่าไร งบประมาณดังกล่าวอาจจะประกอบด้วย

1. เงินออมของคุณ : ยิ่งมีเงินออมสำหรับจ่ายเป็นเงินดาวน์มากเท่าไร การซื้อที่อยู่อาศัยก็จะง่ายขึ้นเท่านั้น

2. วงเงินสินเชื่อจากธนาคาร :
วงเงินสินเชื่อสูงสุด = ราคาประเมินหลักประกัน x 80%
โดยธนาคารจะคำนวณความสามารถในการชำระเงินกู้ของคุณเป็นสำคัญ

ยอดผ่อนจ่ายรายเดือนที่คุณสามารถชำระได้ = รายได้สุทธิต่อเดือน x 40%
ลองคำนวณยอดวงเงินสินเชื่อจากธนาคารโดยง่าย โดยท่านสามารถใช้เครื่องมือคำนวณสินเชื่อ (Loan Calculator) ตามลิงค์ในตอนท้ายของบทความ

การเลือกบ้านให้น่าอยู่ควรคำนึงถึง?
1. เดินทางสะดวก
ที่ดินใกล้ตัวเมืองมักมีราคาสูง โครงการบ้านจัดสรรส่วนใหญ่จึงตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองตั้งแต่ 10 กม. ขึ้นไป เพื่อการเำดินทางสู่ตัวเมืองได้สะดวกรวดเร็ว จึงควรเลือกบ้านที่อยู่ใกล้กับระบบขนส่งมวลชน เช่น ทางด่วน หรือเส้นทางเดินรถสาธารณะ ซึ่งเชื่อมโยงกับเส้นทางเข้าสู่ตัวเมือง และสถานที่สำคัญต่างๆ อาทิ โรงพยาบาล ที่ทำงาน โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

2. ใกล้บริการสาธารณะ
บริการสาธารณะสำคัญที่ต้องมีอยู่ใกล้บ้าน คือ โรงพยาบาลหรือสถานบริการทางการแพทย์ ส่วนสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่ควรคำนึงถึงเป็นลำดับต่อไปขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ อาทิ ซูเปอร์มาร์เก็ต ธนาคาร สถานที่ออกกำลังกาย สถานีตำรวจ เป็นต้น

3. หลีกเลี่ยงทำเลใกล้มลภาวะ
สำรวจให้แน่ใจว่าโครงการบ้านจัดสรรที่จะซื้อนั้น ไม่อยู่ใกล้กับแหล่งมลพิษ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมหนัก ที่ทิ้งขยะ หรือทางหลวงที่มีการจราจรหนาแน่น

4. มีการบริหารส่วนกลางที่เป็นระบบ
- ระบบรักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง บางโครงการอาจมีระบบอื่นเพิ่มเติม เช่น ระบบคีย์การ์ด ระบบอินเตอร์คอม หรือกล้องวงจรปิด
- การรักษาความสะอาดในพื้นที่ส่วนรวมของโครงการและการจัดเก็บขยะ
- การบำรุงรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง
- บริการด้านอื่นๆ เ่ช่น ไปรษณีย์ ซักรีด ดูแลสวน และบริการงานช่างต่างๆ

5. สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่ควรพิจารณา ได้แก่ สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น สวนหย่อม บางโครงการอาจมีศูนย์ออกกำลังกาย สนามกีฬา และร้านค้าสะดวกซื้อ

การตัดสินใจซื้อบ้าน
เมื่อคนพบที่อยู่อาศัยที่ถูกใจแล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การทำสัญญาซื&#3#3657;อขายกับบริษัทหรือนายหน้า โดยสัญญาดังกล่าวต้องเป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบด้วยข้อตกลงและข้อกำหนดในการซื้อขาย โดยผู้ขายส่วนใหญ่จะขอให้วางเงินดาวน์ ซึ่งคิดเป็นส่วนหนึ่งของราคาซื้อขายที่อยู่อาศัย คือประมาณ 10% ของราคาขาย คุณจึงควรพิจารณาเลือกซื้อที่อยู่อาศัยจากผู้ประกอบกิจการหรือโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มั่นคง และมีประวัติการสร้างที่อยู่อาศัยดีเพื่อให้มั่นใจได้

หากคุณตัดสินใจเลือกขอสินเชื่อกับสินเชื่อบ้านบัวหลวงสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://bangkokbank.com/home_loans
ข้อมูลอ้างอิง : แผ่นพับสินเชื่อบ้านบัวหลวง

ขั้นตอนการขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารกสิกรไทย

ขั้นตอนการขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารกสิกรไทย

ขั้นตอนการขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารกสิกรไทย

สวัสดีผู้อ่านที่กำลังหาข้อมูลสินเชื่อบ้านของท่าน วันนี้เราขอแนะนำข้อมูลสินเชื่อบ้านกับธนาคารกสิกรไทยซึ่งถือว่าเป็นสินเชื่อวงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา คิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินกู้ประเภทอื่น และมีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้เลือกได้หลายแบบ ผ่อนชำระได้นานสูงสุดถึง 30 ปี นับว่าน่าสนใจมาก แต่ก่อนอื่นคุณจะต้องทราบคุณสมบัติผู้กู้เงินเสียก่อนดังนี้

คุณสมบัติของผู้ขอกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารกสิกรไทย

1. ต้องเป็นสัญชาติไทย
2. ผู้กู้มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป
  • สำหรับกรณีเป็นผู้มีรายได้ประจำ อายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาผ่อนชำระแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี
  • สำหรับกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว อายุของผู้กู้รวมกับระยะเวลาผ่อนชำระแล้วต้องไม่เกิน 65 ปี
3. อายุงานของผู้กู้
  • สำหรับกรณีเป็นผู้มีรายได้ประจำ ต้องมีอายุงานไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือหากถ้าน้อยกว่า 2 ปีต้องมีประวัติทำงานที่เดิมไม่ต่ำกว่า 2 ปีเช่นกัน
  • สำหรับกรณีที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว ต้องมีการประกอบธุรกิจปัจจุบันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
4. ผู้กู้หลักต้องมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
5. มีจำนวนผู้กู้ร่วมได้ไม่เกิน 2 คน และต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ


ระยะเวลาการผ่อนชำระแยกตามประเภทการกู้และวงเงินกู้

1.  สำหรับบ้านพร้อมที่ดิน และทาวน์เฮ้าส์ กู้ได้ไม่เกิน 80% ของราคาซื้อขายและไม่เกิน 80% ของราคาประเมิน (แล้วแต่ราคาใดต่ำกว่า) ระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 30 ปี

2.  สำหรับห้องชุดที่มีระดับราคาขายตั้งแต่ห้องละ 500,000 บาทขึ้นไป ให้กู้ได้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน (แล้วแต่ราคาใดที่ต่ำกว่า) ระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุดกำหนด ดังนี้

  • ราคาซื้อขายต่ำกว่า 1.0 ลบ. กำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 25 ปี
  • ราคาซื้อขายตั้งแต่ 1.0 ลบ.ขึ้นไป กำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 30 ปี

3.  อาคารพาณิชย์ กู้ได้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน ( แล้วแต่ราคา ใดต่ำกว่า ) ระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 30 ปี

4.  ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเอง กู้ได้ไม่เกิน 100% ของราคาค่าปลูกสร้าง แต่ไม่เกิน 90% ของราคาประเมินที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 30 ปี

5.  ต่อเติมหรือปรับปรุงที่อยู่อาศัย กู้ได้ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินส่วนที่ต่อเติม และไม่เกิน 90% ของราคาประเมินบ้านและที่ดิน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 5.0 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี


6.  รับโอนลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น (Refinance)

ธนาคารกำหนดเงื่อนไขการกู้และอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับกลุ่มลูกค้า Refinance โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ K-Home Loan Delivery 0 2888 8888 กด 55

7.  การกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่าต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

          7.1 เพื่อซื้อที่ดินเปล่าเฉพาะในโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุน

          7.2 เพื่อซื้อที่ดินเปล่าไว้สำหรับการขยายที่อยู่อาศัยเดิมออกไป ตามความจำเป็นเพื่อการอยู่อาศัย
          กำหนดหลักเกณฑ์การให้กู้สำหรับข้อ 7.1 - 7.2 ดังนี้

               1) ให้กู้ได้ไม่เกิน 70% ของราคาประเมินที่ดิน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท
               2) กำหนดเนื้อที่ไม่เกิน 3 ไร่
               3) ระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี

          7.3 เพื่อซื้อที่ดินเปล่าจากการแก้ไขหนี้ของธนาคารกสิกรไทย
          7.4 เพื่อซื้อที่ดินเปล่าจากการประมูลขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี (เป็นทรัพย์จำนองของธนาคารกสิกรไทย)
          7.5 เพื่อซื้อที่ดินเปล่าที่เป็นทรัพย์รอการขายของธนาคารกสิกรไทย และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่ธนาคารกสิกรไทยจัดตั้งขึ้น ดังนี้
          กำหนดหลักเกณฑ์การให้กู้สำหรับข้อ 7.3 - 7.5 ดังนี้

                   1) ให้กู้ได้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขายและไม่เกิน 90%ของราคาประเมิน
                   2) วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน10 ล้านบาท โดยทรัพย์ต้องมีเนื้อที่ไม่เกิน 10 ไร่
                   3) ระยะเวลาการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี

ทั้งนี้ กรณีที่อยู่อาศัยมีราคาซื้อขายตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป กำหนดให้กู้สูงสุดไม่เกิน 80% ของราคาซื้อขาย ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย


อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 6 แบบ
กำหนดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 6 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1  อัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปีแรก คิดอัตราคงที่ 2.50% (EIR = 6.49%)
แบบที่ 2  อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก คิดอัตราคงที่ 4.75% (EIR = 6.51%)
แบบที่ 3  อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก คิดอัตราคงที่ 5.50% (EIR = 6.52%)
แบบที่ 4  อัตราดอกเบี้ยลอยตัวพิเศษ 1 ปีแรก MLR-5.50% (EIR = 6.50%)
แบบที่ 5  อัตราดอกเบี้ยลอยตัวพิเศษ 2 ปีแรก MLR-3.25% (EIR = 6.53%)
แบบที่ 6  อัตราดอกเบี้ยลอยตัวพิเศษ 3 ปีแรก MLR-2.50% (EIR = 6.56%)
หลังจากระยะเวลาข้างต้น คิดอัตราดอกเบี้ย MLR จนสิ้นสุดอายุสัญญาสำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภท

สำหรับระยะเวลาในการพิจารณาผลการกู้นั้น  ใช้เวลาประมาณ 7 วัน (กรณีที่ส่งเอกสารครบถ้วน)

ท่านสามารถศึกษาเอกสารขอกู้ได้โดยการดาวน์โหลด เอกสารประกอบการขอสินเชื่อบ้าน

และดาวน์โหลดเอกสารใบสมัครคำขอสินเชื่อ >>  และ ตารางการเปิดเผยข้อมูลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

อัพเดทล่าสุด ท่านสามารถยื่นกู้สินเชื่อบ้านได้ทางออนไลน์แล้วที่หน้าเว็บ http://khomesmilesclub.askkbank.com/khomeloanonline

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกสิกรไทย โทรศัพท์: 02-888-8888

ข้อมูลอ้างอิง : www.kasikornbank.com

16 วิธีบริหารจัดการธุรกิจสินเชื่อให้ประสบผลสำเร็จ

16 วิธีบริหารจัดการธุรกิจสินเชื่อให้ประสบผลสำเร็จ

เรียบเรียงบทความโดย เงินด่วนสินเชื่อ.com

การบริหารจัดการประกอบธุรกิจสินเชื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้นมีปัจจัยมากมาย เช่นตัวสมาชิก ระบบขององค์กร วิธีการบริหาร แนวนโยบายเป็นต้น อย่างไรก็ตามหากท่านที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อให้ความสำคัญกับ 16 ปัจจัยเหล่านี้โอกาสที่จะบริหารจัดการให้การประกอบธุรกิจสินเชื่อแล้วจะประสบความสำเร็จก็มีมากขึ้น
16 วิธีบริหารจัดการธุรกิจสินเชื่อให้ประสบผลสำเร็จ
16 วิธีบริหารจัดการธุรกิจสินเชื่อให้ประสบผลสำเร็จ

  1. ต้องรับสมาชิกที่ดี
  2. ความหมายของคำว่า ดีในที่นี้ต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ด้าน เช่น ฐานะการเงินของครอบครัวมีความมั่นคงหรือไม่ การประกอบอาชีพมีความมั่นคงหรือม่ มีคุณธรรมในการพึ่งตนเองคือขยัน ประหยัด พัฒนาชีวิต ไม่เสพติดอบายมุข ซึ่งถ้าหากเริ่มต้นที่คนดีย่อมนำสู่การประสบความสำเร็จสูง

  3. ต้องมีการทำความเข้าใจกับสมาชิกก่อนจ่ายเงินกู้
  4. เพื่อเป็นการชี้แจงสำหรับการร่วมธุรกิจกับสหกรณ์ที่ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้กับลูกหนี้เหมือนกับการทำธุรกิจทั่วไป แต่เป็นเหมือนการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อสร้างอาชีพ สร้างความเป็นอยู่โดยยืมเงินทุนของเพื่อนสมาชิกในระยะเวลาหนึ่ง และในระหว่างนั้นต้องมีความร่วมมือกันตลอดเวลา รวมถึงการชี้แจงสัญญาและเงื่อนไขการชำระหนี้ให้มีความชัดเจน สมาชิกก็จะปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ถูกต้อง หากสมาชิกที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขไม่ได้ก็สามารถแจ้งยกเลิกการกู้เงินได้

  5. เจ้าหน้าที่สหกรณ์ต้องเป็นนักบริการ
  6. ต้องให้บริการทันกับความต้องการของสมาชิก เพราะว่าสภาพการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สมาชิกมีการดำเนินชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น สหกรณ์ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการบริการให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และเป็นนักบริการที่ดี


  7. กลุ่มย่อยของสหกรณ์ ต้องมีระบบที่ดี
  8. ควบคุม ดูแลภายในกลุ่มได้ดีผู้นำกลุ่มต้องเป็นหลักคือ สามารถควบคุมสมาชิกได้ ต้องรู้ว่าสมาชิกแต่ละคนเป็นอย่างไร ใช้บริการสินเชื่อตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ต้องการรับความช่วยเหลือด้านใด มีกำลังชำระคืนหรือไม่ เป็นผู้กระตุ้นสมาชิกเมื่อถึงกำหนดชำระคืน สหกรณ์ใดที่ไม่มีระบบกลุ่มย่อยควรสร้างระบบนี้ขึ้น

  9. มีการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจสินเชื่อกับธุรกิจซื้อและธุรกิจขาย
  10. เช่น สมาชิกกู้เงินไปแต่ไม่มีเงินชำระหนี้ ก็ใช้วิธีการนำผลผลิตมาให้กับสหกรณ์ เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระได้วิธีหนึ่ง การจ่ายเงินกู้เป็นวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสามารถทำให้เงินถูกนำไปใช้จริง หรือเชื่อมโยงกันโดยวิธีอื่นตามแต่สมาชิกต้องการและมีความพร้อม


  11. ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
  12. ข้อนี้สำคัญมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ ผู้นำกลุ่ม เมื่อร่วมธุรกิจสินเชื่อต้องเป็นตัวอย่างให้กับสมาชิก ชำระตรงกำหนดเวลา ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสหกรณ์ สำหรับสังคมไทยที่ยึดถือตัวบุคคลถือว่าเป็นข้อกำหนดที่สำคัญที่ผู้นำต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี


  13. เจ้าหน้าที่ต้องทุ่มเทการทำงานด้วยความซื่อสัตย์
  14. หลายสหกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ใช้ธุรกิจสินเชื่อเป็นช่องทางการทุจริต เช่น ปลอมชื่อสมาชิกกู้เงินจากสหกรณ์ไปหรือเมื่อสมาชิกมาชำระเงินก็ไม่นำเข้าสหกรณ์อาจใช้วิธีแก้ไขด้วยการตรวจสอบหนี้คงเหลือ จากสมาชิกว่าถูกต้องตรงกับทะเบียนคุมยอดลูกหนี้หรือไม่ สิ่งสำคัญเมื่อกำหนดให้สมาชิกสหกรณ์เป็นคนดีธุรกิจสินเชื่อจัดบริการสำหรับคนดีเจ้าหน้าที่สหกรณ์จึงต้องเป็นคนดีเท่านั้น ควรกำจัดคนไม่ดีออกจากระบบสหกรณ์และควรให้คนดีขึ้นเป็นผู้ปกครองคนในสหกรณ์


  15. การจัดชั้นสมาชิก
  16. โดยการพิจารณาจากประวัติการมีส่วนร่วมในสหกรณ์ของสมาชิก เช่นการเข้าร่วมประชุม การถือหุ้น การฝากเงิน การทำธุรกิจ โดยจัดระดับการมีส่วนร่วมเป็นสามระดับแล้วนำมาจัดชั้นสมาชิกเป็นชั้นหนึ่ง ชั้นสอง ชั้นสามหรือชั้นดี ชั้นปานกลาง ชั้นควรปรับปรุง ใครเป็นสมาชิกชั้นหนึ่ง ชั้นดีก็ได้วงเงินกู้มาก เสียดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาชำระคืนนาน โดยมีการประเมินการจัดชั้นสมาชิกทุกปี เพื่อปรับเปลี่ยนชั้น

  17. การตั้งกองทุนชำระหนี้
  18. เป็นการรวมเงินของสมาชิกตั้งเป็นกองทุนไว้ เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระสมาชิกคนใดมีเงินไม่พอก็สามารถยืมเงินจากกองทุน นำไปชำระหนี้กับสหกรณ์ เมื่อยื่นกู้ใหม่ได้รับเงินกู้ก็นำมาชำระคืนกองทุนหมุนเวียนกันไปดีกว่าการใช้วิธีกู้เงินนอกระบบต้องเสียดอกเบี้ยที่สูง สมาชิกก็จะเดือดร้อนมากขึ้นการจัดตั้งกองทุนชำระหนี้เป็นการแก้ไขปัญหาในยามจำเป็นเช่นเกิดอุทกภัย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เสียประวัติของคนดี

  19. มีการส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิก
  20. เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มจากอาชีพเดิมหรืออาชีพเสริมเมื่อสมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ธุรกิจสินเชื่อของสหกรณ์ก็สามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง อาชีพที่ควรส่งเสริม เช่น ปลูกผักปลอดสารพิษ ผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนที่ปลอดสารเคมี เพื่อตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน

  21. การปล่อยเงินกู้รวดเร็ว
  22. ปัจจุบันคนเริ่มดำเนินชีวิตภายใต้การแข่งขันที่สูงขึ้น ประกอบอาชีพหลายอย่าง สหกรณ์ควรใช้เวลาพิจารณาเงินกู้ให้สั้นลง เช่น พิจารณาจากจำนวนหุ้นประวัติ ฐานะการเงิน ถ้าผ่านก็อนุมัติเลยไม่ต้องรอประชุมคณะกรรมการทั้งนี้ต้องดำเนินการให้มีระเบียบรองรับ สหกรณ์ควรปล่อยเงินกู้หลายประเภทเช่น เงินกู้ฉุกเฉิน กู้แล้วได้รับเงินทันเมื่อมีเหตุการณ์เร่งด่วน แต่ควรมีกำหนดวงเงินและระยะเวลาคืนให้ชัดเจนรวดเร็วเหมือนตอนที่ขอกู้ เงินกู้ระยะสั้นควรมีการจ่ายทุกสัปดาห์หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เงินกู้ระยะปานกลางควรปรับปรุงระบบค้ำประกันให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว เพื่อสามารถจ่ายเงินกู้ได้รวดเร็วขึ้น หรืออาจมีการเพิ่มหลักประกันอื่น ๆ เช่น ถ้าจ่ายเงินกู้ให้แม่ค้าก็ใช้แผงค้าเป็นหลักประกันคล้ายกับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน

  23. การดำเนินคดีกับคนดัง
  24. เมื่อมีการทวงถามถึงที่สุดแล้ว สหกรณ์จำเป็นต้องดำเนินคดีกับผู้ที่ไม่มาชำระหนี้ โดยอาจเริ่มที่คนมีชื่อเสียงในตำบล อำเภอ เพื่อให้สมาชิกได้เห็นว่าสหกรณ์มีความจริงจัง จะได้ไม่กล้าค้างชำระนาน ๆ แต่บางครั้งสหกรณ์ก็ต้องเลือกสมาชิกที่จะฟ้องว่าถ้าฟ้องแล้วต้องได้รับชำระคืนแน่ ๆ เพื่อป้องกันการเสียเวลา เสียทั้งเงินค่าธรรมเนียม ค่าทนาย ไม่คุ้มกับที่เสี่ยงฟ้องร้อง และที่สำคัญเมื่อฟ้องร้องแล้วสหกรณ์ต้องเด็ดขาด ไม่ใจอ่อน ประนีประนอม ไม่เช่นนั้นก็จะส่งผลต่อหนี้ค้างรายอื่นที่อาจดื้อแพ่งตามมา

  25. หาคนที่ลูกหนี้เคารพนับถือ
  26. กรณีนี้คือการค้นหาว่าสมาชิดลูกหนี้ของสหกรณ์ให้ความเคารพนับถือใครมากที่สุด เช่น เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อที่วัดเคารพหลวงพ่อมากเป็นลูกน้องของกำนันทำตามคำสั่งกำนันทุกอย่าง เป็นรุ่นน้องของรุ่นพี่ที่ทำงานอยู่ด้วยกัน เป็นน้องของพี่ชายที่รักกันมาก กรณีเหล่านี้ให้เข้าหาบุคคลที่สมาชิกเคารพนับถือให้ช่วยติดตามทวงถามหนี้สินจากสมาชิกให้


  27. ทยอยรับชำระ
  28. บางครั้งการรับชำระหนี้ทั้งหมดสมาชิกบางคนอาจไม่สามารถรวบรวมมาชำระได้ แต่ถ้าใช้วิธีการทยอยชำระครั้งละ 100, 200 หรือ 500 บาท ก็จะทำให้สามารถทยอยชำระได้ง่ายขึ้น สหกรณ์ต้องใช้วิธีการสังเกตว่ารายได้ของสมาชิกมีช่วงไหนจะได้ทยอยเก็บช่วงนั้นได้ หรือให้ความสะดวกกับสมาชิกโดยการเดินเก็บตามบ้าน จะทำให้สมาชิกเต็มใจที่จะชำระหนี้ สหกรณ์ก็ลดความเสี่ยงหนี้ค้างชำระได้ ยกตัวอย่างเช่นสมาชิกสหกรณ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีรายได้พิเศษในช่วงเทศกาลสงกรานต์เนื่องจากบุตรหลานเดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครเพื่อฉลองวันปีใหม่ไทยโดยจะนำเงินมาให้คุณพ่อคุณแม่

  29. นำระบบเทคโนโลยีมาใช้
  30. ยุคปัจจุบันนั้นเทคโนโลยีมีความสำคัญและจำเป็นไม่แพ้สิ่งใดเลย และเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง เกิดประโยชน์กับสมาชิกมากขึ้นเช่น ใช้คอมพิวเตอร์กรอกรายละเอียดในการขอกู้ของสมาชิก เก็บข้อมูลการกู้การชำระเงิน ประวัติสมาชิก เป็นต้น สหกรณ์สามารถสร้างระบบเว็บไซด์เป็นของตนเองเพื่ออำนวยความสะดวกให้สมาชิกตรวจสอบข้อมูลได้ที่บ้าน

  31. การยกหนี้ให้
  32. สำหรับเทคนิคนี้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้สร้างวิธีการที่น่าสนใจโดยสมาชิกที่เข้าหลักเกณฑ์เมื่อเสียชีวิตจะได้รับการยกหนี้ให้ โดยบางกรณีสหกรณ์เพิ่มค่าหุ้นคืนให้มากกว่าที่ถืออยู่ สำหรับสหกรณ์อื่นสามารถสร้างระเบียบขึ้นถือใช้กรณีสมาชิกที่ดี แต่เสียชีวิตขณะมีหนี้กับสหกรณ์สหกรณ์ลดหย่อนหรือยกหนี้ให้ ทั้งนี้ต้องศึกษาแนวทางที่เหมาะสม

    "เงิน" ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต (เรื่องของเงิน)
    "เงิน" ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต แต่เราจำเป็นที่จะต้องมีเงินเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเป็นสิ่งที่ยากที่เราจะรักษาเงินของเราไว้ โดยไม่ใช้จ่ายออกไป

    "If you would know the value of money, go and try to borrow some."
    "หากเราอยากรู้ว่าเงินมันมีค่าแค่ไหน ก็ลองไปกู้ยืมเงินดูสิ"
    คำคมเกี่ยวกับเงินโดย Benjamin Franklin