แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธุรกิจสินเชื่อ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธุรกิจสินเชื่อ แสดงบทความทั้งหมด

16 วิธีบริหารจัดการธุรกิจสินเชื่อให้ประสบผลสำเร็จ

16 วิธีบริหารจัดการธุรกิจสินเชื่อให้ประสบผลสำเร็จ

เรียบเรียงบทความโดย เงินด่วนสินเชื่อ.com

การบริหารจัดการประกอบธุรกิจสินเชื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้นมีปัจจัยมากมาย เช่นตัวสมาชิก ระบบขององค์กร วิธีการบริหาร แนวนโยบายเป็นต้น อย่างไรก็ตามหากท่านที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อให้ความสำคัญกับ 16 ปัจจัยเหล่านี้โอกาสที่จะบริหารจัดการให้การประกอบธุรกิจสินเชื่อแล้วจะประสบความสำเร็จก็มีมากขึ้น
16 วิธีบริหารจัดการธุรกิจสินเชื่อให้ประสบผลสำเร็จ
16 วิธีบริหารจัดการธุรกิจสินเชื่อให้ประสบผลสำเร็จ

  1. ต้องรับสมาชิกที่ดี
  2. ความหมายของคำว่า ดีในที่นี้ต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ด้าน เช่น ฐานะการเงินของครอบครัวมีความมั่นคงหรือไม่ การประกอบอาชีพมีความมั่นคงหรือม่ มีคุณธรรมในการพึ่งตนเองคือขยัน ประหยัด พัฒนาชีวิต ไม่เสพติดอบายมุข ซึ่งถ้าหากเริ่มต้นที่คนดีย่อมนำสู่การประสบความสำเร็จสูง

  3. ต้องมีการทำความเข้าใจกับสมาชิกก่อนจ่ายเงินกู้
  4. เพื่อเป็นการชี้แจงสำหรับการร่วมธุรกิจกับสหกรณ์ที่ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้กับลูกหนี้เหมือนกับการทำธุรกิจทั่วไป แต่เป็นเหมือนการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อสร้างอาชีพ สร้างความเป็นอยู่โดยยืมเงินทุนของเพื่อนสมาชิกในระยะเวลาหนึ่ง และในระหว่างนั้นต้องมีความร่วมมือกันตลอดเวลา รวมถึงการชี้แจงสัญญาและเงื่อนไขการชำระหนี้ให้มีความชัดเจน สมาชิกก็จะปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ถูกต้อง หากสมาชิกที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขไม่ได้ก็สามารถแจ้งยกเลิกการกู้เงินได้

  5. เจ้าหน้าที่สหกรณ์ต้องเป็นนักบริการ
  6. ต้องให้บริการทันกับความต้องการของสมาชิก เพราะว่าสภาพการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สมาชิกมีการดำเนินชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น สหกรณ์ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการบริการให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และเป็นนักบริการที่ดี


  7. กลุ่มย่อยของสหกรณ์ ต้องมีระบบที่ดี
  8. ควบคุม ดูแลภายในกลุ่มได้ดีผู้นำกลุ่มต้องเป็นหลักคือ สามารถควบคุมสมาชิกได้ ต้องรู้ว่าสมาชิกแต่ละคนเป็นอย่างไร ใช้บริการสินเชื่อตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ต้องการรับความช่วยเหลือด้านใด มีกำลังชำระคืนหรือไม่ เป็นผู้กระตุ้นสมาชิกเมื่อถึงกำหนดชำระคืน สหกรณ์ใดที่ไม่มีระบบกลุ่มย่อยควรสร้างระบบนี้ขึ้น

  9. มีการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจสินเชื่อกับธุรกิจซื้อและธุรกิจขาย
  10. เช่น สมาชิกกู้เงินไปแต่ไม่มีเงินชำระหนี้ ก็ใช้วิธีการนำผลผลิตมาให้กับสหกรณ์ เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระได้วิธีหนึ่ง การจ่ายเงินกู้เป็นวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสามารถทำให้เงินถูกนำไปใช้จริง หรือเชื่อมโยงกันโดยวิธีอื่นตามแต่สมาชิกต้องการและมีความพร้อม


  11. ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
  12. ข้อนี้สำคัญมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ ผู้นำกลุ่ม เมื่อร่วมธุรกิจสินเชื่อต้องเป็นตัวอย่างให้กับสมาชิก ชำระตรงกำหนดเวลา ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสหกรณ์ สำหรับสังคมไทยที่ยึดถือตัวบุคคลถือว่าเป็นข้อกำหนดที่สำคัญที่ผู้นำต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี


  13. เจ้าหน้าที่ต้องทุ่มเทการทำงานด้วยความซื่อสัตย์
  14. หลายสหกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ใช้ธุรกิจสินเชื่อเป็นช่องทางการทุจริต เช่น ปลอมชื่อสมาชิกกู้เงินจากสหกรณ์ไปหรือเมื่อสมาชิกมาชำระเงินก็ไม่นำเข้าสหกรณ์อาจใช้วิธีแก้ไขด้วยการตรวจสอบหนี้คงเหลือ จากสมาชิกว่าถูกต้องตรงกับทะเบียนคุมยอดลูกหนี้หรือไม่ สิ่งสำคัญเมื่อกำหนดให้สมาชิกสหกรณ์เป็นคนดีธุรกิจสินเชื่อจัดบริการสำหรับคนดีเจ้าหน้าที่สหกรณ์จึงต้องเป็นคนดีเท่านั้น ควรกำจัดคนไม่ดีออกจากระบบสหกรณ์และควรให้คนดีขึ้นเป็นผู้ปกครองคนในสหกรณ์


  15. การจัดชั้นสมาชิก
  16. โดยการพิจารณาจากประวัติการมีส่วนร่วมในสหกรณ์ของสมาชิก เช่นการเข้าร่วมประชุม การถือหุ้น การฝากเงิน การทำธุรกิจ โดยจัดระดับการมีส่วนร่วมเป็นสามระดับแล้วนำมาจัดชั้นสมาชิกเป็นชั้นหนึ่ง ชั้นสอง ชั้นสามหรือชั้นดี ชั้นปานกลาง ชั้นควรปรับปรุง ใครเป็นสมาชิกชั้นหนึ่ง ชั้นดีก็ได้วงเงินกู้มาก เสียดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาชำระคืนนาน โดยมีการประเมินการจัดชั้นสมาชิกทุกปี เพื่อปรับเปลี่ยนชั้น

  17. การตั้งกองทุนชำระหนี้
  18. เป็นการรวมเงินของสมาชิกตั้งเป็นกองทุนไว้ เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระสมาชิกคนใดมีเงินไม่พอก็สามารถยืมเงินจากกองทุน นำไปชำระหนี้กับสหกรณ์ เมื่อยื่นกู้ใหม่ได้รับเงินกู้ก็นำมาชำระคืนกองทุนหมุนเวียนกันไปดีกว่าการใช้วิธีกู้เงินนอกระบบต้องเสียดอกเบี้ยที่สูง สมาชิกก็จะเดือดร้อนมากขึ้นการจัดตั้งกองทุนชำระหนี้เป็นการแก้ไขปัญหาในยามจำเป็นเช่นเกิดอุทกภัย เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เสียประวัติของคนดี

  19. มีการส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิก
  20. เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มจากอาชีพเดิมหรืออาชีพเสริมเมื่อสมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ธุรกิจสินเชื่อของสหกรณ์ก็สามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง อาชีพที่ควรส่งเสริม เช่น ปลูกผักปลอดสารพิษ ผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนที่ปลอดสารเคมี เพื่อตรงกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน

  21. การปล่อยเงินกู้รวดเร็ว
  22. ปัจจุบันคนเริ่มดำเนินชีวิตภายใต้การแข่งขันที่สูงขึ้น ประกอบอาชีพหลายอย่าง สหกรณ์ควรใช้เวลาพิจารณาเงินกู้ให้สั้นลง เช่น พิจารณาจากจำนวนหุ้นประวัติ ฐานะการเงิน ถ้าผ่านก็อนุมัติเลยไม่ต้องรอประชุมคณะกรรมการทั้งนี้ต้องดำเนินการให้มีระเบียบรองรับ สหกรณ์ควรปล่อยเงินกู้หลายประเภทเช่น เงินกู้ฉุกเฉิน กู้แล้วได้รับเงินทันเมื่อมีเหตุการณ์เร่งด่วน แต่ควรมีกำหนดวงเงินและระยะเวลาคืนให้ชัดเจนรวดเร็วเหมือนตอนที่ขอกู้ เงินกู้ระยะสั้นควรมีการจ่ายทุกสัปดาห์หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เงินกู้ระยะปานกลางควรปรับปรุงระบบค้ำประกันให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว เพื่อสามารถจ่ายเงินกู้ได้รวดเร็วขึ้น หรืออาจมีการเพิ่มหลักประกันอื่น ๆ เช่น ถ้าจ่ายเงินกู้ให้แม่ค้าก็ใช้แผงค้าเป็นหลักประกันคล้ายกับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน

  23. การดำเนินคดีกับคนดัง
  24. เมื่อมีการทวงถามถึงที่สุดแล้ว สหกรณ์จำเป็นต้องดำเนินคดีกับผู้ที่ไม่มาชำระหนี้ โดยอาจเริ่มที่คนมีชื่อเสียงในตำบล อำเภอ เพื่อให้สมาชิกได้เห็นว่าสหกรณ์มีความจริงจัง จะได้ไม่กล้าค้างชำระนาน ๆ แต่บางครั้งสหกรณ์ก็ต้องเลือกสมาชิกที่จะฟ้องว่าถ้าฟ้องแล้วต้องได้รับชำระคืนแน่ ๆ เพื่อป้องกันการเสียเวลา เสียทั้งเงินค่าธรรมเนียม ค่าทนาย ไม่คุ้มกับที่เสี่ยงฟ้องร้อง และที่สำคัญเมื่อฟ้องร้องแล้วสหกรณ์ต้องเด็ดขาด ไม่ใจอ่อน ประนีประนอม ไม่เช่นนั้นก็จะส่งผลต่อหนี้ค้างรายอื่นที่อาจดื้อแพ่งตามมา

  25. หาคนที่ลูกหนี้เคารพนับถือ
  26. กรณีนี้คือการค้นหาว่าสมาชิดลูกหนี้ของสหกรณ์ให้ความเคารพนับถือใครมากที่สุด เช่น เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อที่วัดเคารพหลวงพ่อมากเป็นลูกน้องของกำนันทำตามคำสั่งกำนันทุกอย่าง เป็นรุ่นน้องของรุ่นพี่ที่ทำงานอยู่ด้วยกัน เป็นน้องของพี่ชายที่รักกันมาก กรณีเหล่านี้ให้เข้าหาบุคคลที่สมาชิกเคารพนับถือให้ช่วยติดตามทวงถามหนี้สินจากสมาชิกให้


  27. ทยอยรับชำระ
  28. บางครั้งการรับชำระหนี้ทั้งหมดสมาชิกบางคนอาจไม่สามารถรวบรวมมาชำระได้ แต่ถ้าใช้วิธีการทยอยชำระครั้งละ 100, 200 หรือ 500 บาท ก็จะทำให้สามารถทยอยชำระได้ง่ายขึ้น สหกรณ์ต้องใช้วิธีการสังเกตว่ารายได้ของสมาชิกมีช่วงไหนจะได้ทยอยเก็บช่วงนั้นได้ หรือให้ความสะดวกกับสมาชิกโดยการเดินเก็บตามบ้าน จะทำให้สมาชิกเต็มใจที่จะชำระหนี้ สหกรณ์ก็ลดความเสี่ยงหนี้ค้างชำระได้ ยกตัวอย่างเช่นสมาชิกสหกรณ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีรายได้พิเศษในช่วงเทศกาลสงกรานต์เนื่องจากบุตรหลานเดินทางกลับจากกรุงเทพมหานครเพื่อฉลองวันปีใหม่ไทยโดยจะนำเงินมาให้คุณพ่อคุณแม่

  29. นำระบบเทคโนโลยีมาใช้
  30. ยุคปัจจุบันนั้นเทคโนโลยีมีความสำคัญและจำเป็นไม่แพ้สิ่งใดเลย และเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง เกิดประโยชน์กับสมาชิกมากขึ้นเช่น ใช้คอมพิวเตอร์กรอกรายละเอียดในการขอกู้ของสมาชิก เก็บข้อมูลการกู้การชำระเงิน ประวัติสมาชิก เป็นต้น สหกรณ์สามารถสร้างระบบเว็บไซด์เป็นของตนเองเพื่ออำนวยความสะดวกให้สมาชิกตรวจสอบข้อมูลได้ที่บ้าน

  31. การยกหนี้ให้
  32. สำหรับเทคนิคนี้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้สร้างวิธีการที่น่าสนใจโดยสมาชิกที่เข้าหลักเกณฑ์เมื่อเสียชีวิตจะได้รับการยกหนี้ให้ โดยบางกรณีสหกรณ์เพิ่มค่าหุ้นคืนให้มากกว่าที่ถืออยู่ สำหรับสหกรณ์อื่นสามารถสร้างระเบียบขึ้นถือใช้กรณีสมาชิกที่ดี แต่เสียชีวิตขณะมีหนี้กับสหกรณ์สหกรณ์ลดหย่อนหรือยกหนี้ให้ ทั้งนี้ต้องศึกษาแนวทางที่เหมาะสม

    "เงิน" ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต (เรื่องของเงิน)
    "เงิน" ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต แต่เราจำเป็นที่จะต้องมีเงินเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเป็นสิ่งที่ยากที่เราจะรักษาเงินของเราไว้ โดยไม่ใช้จ่ายออกไป

    "If you would know the value of money, go and try to borrow some."
    "หากเราอยากรู้ว่าเงินมันมีค่าแค่ไหน ก็ลองไปกู้ยืมเงินดูสิ"
    คำคมเกี่ยวกับเงินโดย Benjamin Franklin